รักษาผมร่วง ด้วยเทคโนโลยี LASERs

ชึ้นชื่อว่า LASER คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเรื่องของความงาม เช่น การกระชับผิวพรรณ หรือการรักษารอยดำ จุดดำ ต่างๆ แต่ความจริงแล้ว LASER ที่ใช้ในทางการแพทย์มีประโยชน์ในการรักษาด้านอื่นๆ อีกหลายอย่าง

รักษาผมร่วงด้วย LASER เป็นคำผสมที่ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation  ดังนั้นจะเขียนให้ถูกต้อง จึงเป็นตัวอักษรใหญ่ติดกันหมด

รักษาผมร่วง LASERs จึงต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่างที่สำคัญ ได้แก่ Light (แสง)  Amplification (การขยายหรือเพิ่มกำลังแสง) และ ต้นกำเนิดแสงซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นก๊าซเฉี่อยชนิดต่างๆ (Atom หรืออะตอมในก๊าซเมื่อถูกกระตุ้นจะปล่อยพลังงานออกมา Emission of Radiation) 

คุณสมบัติของ LASER ที่สำคัญคือ ทำงานแทนมีดด้วยความร้อน ไม่ว่าจะตัดวัสดุการช่าง หรือ ใช้ตัดเนื้อเยื่อในทางการแพทย์ จะมีการทำให้เนื้อเยื่อขาดหรือไหม้และสลายไปด้วยความร้อน  แต่เนื่องจากเราสามารถกำหนดความแม่นยำ ต่อ target (เนื้อหรือวัสดุเป้าหมายได้ดีกว่าการใช้มีด) LASER จึงเป็นที่นิยมมากในงานที่ต้องการความแม่นยำ หรือความชัดเจนของเป้าหมาย

ในทางการแพทย์ เรามีการใช้ LASER ทั้งด้านผิวหนัง ได้แก่การตัดเนื้อเยื่อ การกำจัดจุดดำ ตัดติ่งเนื้อ การแก้ไขความหนาของกระจกตา ( LASIK หรือที่เราได้ยินบ่อยๆ ในนามเลเซอร์รักษาสายตาสั้น)

แต่ที่ไม่ค่อยมีการพูดถึง คือ นำเทคโนโลยี เลเซอร์ มาทำการรักษาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ เลเซอร์ทุกชนิดที่เหมาะกับการนำมารักษาเรื่องผมร่วง เพราะเลเซอร์บางตัว โดยเฉพาะที่จับกับ โครโมฟอร์สีเข้มอย่างดำหรือน้ำตาลนั้นจะกลายเป็นการกำจัดขนไปเสียอีก

เลเซอร์ที่นิยมกันแพร่หลายในการช่วยรักษาผมร่วงผมบาง ที่เราเรียกว่า LLLT หรือ Low level light therapy นั้นเป็นแสงช่วงคลื่น 650-900 nm ที่ช่วยกระตุ้นรากผม ให้หลั่งสารซ่อมแซมตัวเองออกมา โดยการทำงานที่ลึกถึงระดับเซล จะแตกต่างจาก RLT หรือ Red light therapy ทั่วๆ ไปที่ออกฤทธิ์เฉพาะผิว สำหรับ LLLT นั้นจะกระตุ้นให้เกิดความร้อนในระดับเซล (Photo biomodulation)จะให้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่า เครื่อง LLLT ที่ได้ผลดีนั้นไม่ใช่แค่มีแสงสีแดง แต่ต้องเป็นคลื่นที่มาจาก Light Emitting Diodes (LED) จึงจะได้ผลดี โดย LLLT นั้นมีประโยชน์อย่างกว้างขวางในแง่ กระตุ้นการซ่อมแซม ป้องกันความเสื่อมของเซล และช่วยให้เซลกลัลมาอ่อนเยาว์อีกด้วย ในปัจจุบันมีเครื่องที่ผลิตขึ้นมาให้ใช้ตามบ้านเพื่อความสะดวกในการใช้งานอีกด้วย

นอกจากกลุ่มเลเซอร์พลังงานต่ำอย่าง LLLT แล้ว ยังมีกลุ่มที่เป็น Low Invasive LASER ที่พบว่าช่วยกระตุ้นการทำงานของรากผมได้อีก ในการศึกษา มีเลเซอร์หลายตัวที่พบว่ามีประโยชน์หากนำมาใช้ที่หนังศีรษะได้แก่ กลุ่ม Fractional CO2 LASER , ERBIUM YAG LASER, Fractional ERBIUM Glass LASER, Thulium LASER, etc. โดยการศึกษาวิจัยมีการทำทั้งในสัตว์ทดลองและมนุษย์  พบว่าเลเซอร์กลุ่มดังกล่าวสามารถกระตุ้นรากผมในระดับเซลได้เช่นกัน แต่มีข้อดีคือสามารถใช้ร่วมกับสารกระตุ้นเช่น Growth factors/Cytokines ได้ดีกว่าการใช้ LLLT อย่างเดียว โดย Fractional CO@ LASER, Fractional Erbium Glass [1550]  และกลุ่ม Thulium LASER  มีการศึกษาในคนว่าได้ผลดี ส่วน Fractional ERBIUM LASER [ 2490] มีการวิจัยในหนูทดลอง ว่าได้ผลเช่นกัน 

จะเห็นได้ว่าการรักษาผมร่วงผมบางนั้น มีหลายวิธีที่เข้ามามีบทบาท ทั้งการใช้ยา การใช้สารอาหาร การใช้แสงหรือพลังงานเลเซอร์มาช่วยกระตุ้น ฯลฯ ในแต่ละด้านก็ให้ผลโดยกลไกที่แตกต่างกัน แพทย์ที่มีประสบการณ์จะพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้รับบริการที่แตกต่างกันไปในแต่ละกรณี

เอกสารอ้างอิง

Laser assisted hair regrowth :Fractional Laser Modalities for treatment of the Androgenetic alopecia, PRS, Robert.J.Dabek,MD.,William G.Austen,Jr.,MD, Branco Bojovic,MD. ,www.PRSGlobalOpen.com

Low Level Laser [Light] therapy for the treatment of hair loss; Lasers Surg Med. 2014 Feb; 46(2): 144–151.